รักษาโรคกระเพาะไม่ยากอย่างที่คิด ใครที่เคยรักษาโรคนี้มานานแล้วไม่หาย ใช้ยารักษาโรคกระเพาะแล้วอาการก็ยังกลับมา ในบทความนี้เราจะพาทุกคนมารู้จักกับโรคกระเพาะให้มากยิ่งขึ้น พร้อมแนะนำวิธีรักษาและยาแก้โรคกระเพาะที่จะช่วยรับมือกับโรคนี้ให้หายขาด และคืนความสุขในการดำเนินชีวิตที่ไร้ซึ่งอาการของโรคกระเพาะที่มากวนใจไปพร้อมๆ กัน
หากคุณกำลังมีอาการของโรคกระเพาะและต้องทนทุกข์ทรมานกับการดำเนินชีวิตที่ถูกรบกวน เราคือเพื่อนกัน.. เพราะเราคือกลุ่มคนวัยทำงานที่เคยประสบปัญหามีอาการเจ็บป่วยและปัญหาสุขภาพต่างๆ โดยเฉพาะโรคกระเพาะอาหารที่เกิดจากการขาดการดูแลตัวเอง และใช้เวลาไปกับการทำงานจนร่างกายทนไม่ไหว ทำให้ในท้ายที่สุดก็ต้องมาพบเจอกับอาการเรื้อรังที่แสนทรมาน ลองรักษากับโรงพยาบาลต่างๆ ก็แล้ว หายา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และวิธีการต่างๆ ก็แล้ว เสียค่าใช้จ่ายไปเป็นจำนวนมากก็ยังไม่สามารถหลุดพ้นออกจากโรคเรื้อรังพวกนี้ไปได้ จนเวลาผ่านไปถึง 1 ปีครึ่ง เราก็ได้พบกับ ‘เคล็ดลับวิธี’ และยาแก้โรคกระเพาะที่ทำให้ขาดจากโรคนี้ เราจึงอยากที่จะแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับเคล็ดลับที่น่าสนใจที่เราได้ค้นพบ แต่ก่อนอื่นเราขอพาทุกคนไปรู้จักกับโรคกระเพาะให้มากยิ่งขึ้น เพื่อมาเจาะลึกถึงวิธีรักษาโรคกระเพาะและรู้จักกับยารักษาโรคกระเพาะที่มีประสิทธิภาพไปพร้อมๆ กัน
ปวดท้องก่อน/หลังมื้ออาหาร
ปวด เสียด จุกใต้ลิ้นปี่
ปวด/จุกแน่นท้องส่วนบน
ท้องอืด เรอบ่อย ลมในท้องเยอะ
คลื่นไส้ อาเจียนหลังทานอาหาร
ไม่อยากอาหาร ทานได้น้อยลง
การป่วยเป็นโรคกระเพาะนั้นไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าเกิดขึ้นจากสาเหตุใด แต่มีการวินิจฉัยมาแล้วว่าอาจเกิดได้จากสาเหตุที่หลากหลาย บ้างก็อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุเดียวโดยตรง บ้างก็เกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุที่เกิดขึ้นร่วมกัน และเพื่อให้แพทย์สามารถรักษาโรคกระเพาะได้อย่างตรงจุด แพทย์จะมีการวินิจฉัยสาเหตุของโรคตามแต่ละบุคคลก่อนการเลือกใช้ยาแก้โรคกระเพาะต่างๆ โดยเราจะแบ่งสาเหตุของการเกิดโรคกระเพาะออกเป็น 4 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
หากร่างกายของเรามีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า เอช.ไพโลไร (H.pylori) ซึ่งเกิดจากการทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดและมีการปนเปื้อน กระเพาะอาหารจะได้รับผลกระทบโดยตรงทำให้กระเพาะอาหารมีการอักเสบ และอาจนำมาซึ่งการเกิดเป็นแผลในกระเพาะอาหารตามมาภายหลังได้
ยาบางชนิดแม้จะช่วยรักษาและบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความเจ็บป่วยของร่างกาย แต่เมื่อทานเข้าไปในระยะยาวก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมาภายหลังได้ หนึ่งในนั้นก็คือการทานยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก (Aspirin และ NSAID) ที่อาจเข้าไปทำลายชั้นผิวของกระเพาะอาหาร ส่งผลให้กระเพาะอาหารอักเสบ เกิดแผลในกระเพาะอาหาร และสำหรับผู้ที่มีอาการของโรคกระเพาะอยู่แล้วก็จะทำให้มีโอกาสที่อาการอักเสบจะรุนแรงมากขึ้นและแผลบริเวณกระเพาะอาหารก็จะหายช้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากยาเหล่านี้ยารักษาสิวบางตัวก็มีส่วนที่อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกัน
หลายครั้งที่ร่างกายเจ็บป่วยมักจะมาจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของเรา โรคกระเพาะก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากในปัจจุบันทุกคนล้วนอยู่ในสังคมที่เร่งรีบ สภาวะแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวย และมีสภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นได้ง่าย ทำให้อัตราผู้ป่วยของโรคนี้เพิ่มมากขึ้น ทั้งยังเป็นอาการป่วยในระยะยาว เป็นๆ หายๆ เป็นใหม่ได้ง่าย และไม่สามารถรักษาโรคกระเพาะให้หายขาดได้ เนื่องจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นไปได้ยากและต้องดำเนินชีวิตแบบวนลูปไปในแต่ละวัน เราจึงขอแนะนำตัวอย่างของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ส่งผลให้เกิดอาการของโรคกระเพาะอาหารที่ควรแก้ไข ซึ่งได้แก่
ถึงแม้จะไม่ใช่สาเหตุหลักๆ ในการเกิดโรคกระเพาะ แต่หากต้องการแก้โรคกระเพาะให้หายจากอาการที่พบเจอ เราจะต้องระมัดระวังไม่ให้มีการติดเชื้อบริเวณทางเดินอาหาร เพราะการติดเชื้อบริเวณทางเดินอาหารจนส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ท้องเสีย และอาหารเป็นพิษ ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยที่จะไปกระตุ้นให้อาการของโรคกระเพาะรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้อาการกำเริบได้ง่าย แผลบริเวณกระเพาะอาหารหายได้ช้า และอาจมีการอักเสบมากยิ่งขึ้นได้
ผู้ที่ไม่มีเวลาดูแลตัวเอง
ผู้ที่ทานอาหารไม่เป็นเวลา
ผู้ที่มักทานอาหารอย่างเร่งรีบ
ผู้ที่สูบบุหรี่ดื่มแอลกอฮอล์
ผู้ที่มีความเครียดเป็นประจำ
ผู้ที่ต้องทานยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs
ผู้ที่มีการทานอาหารเสริม
โรคกระเพาะเป็นโรคที่ถึงแม้จะเข้ารักษากับโรงพยาบาลต่างๆ แล้ว ก็ยังคงจะต้องมีการดูแลตัวเองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวเพื่อไม่ให้อาการกลับมากำเริบอีกครั้ง เพราะการรักษาโรคกระเพาะกับโรงพยาบาลมักเป็นการประคับประคองและรักษาอาการไม่ให้เกิดขึ้น แต่หากมีปัจจัยที่เข้ามากระตุ้น อาการของโรคก็พร้อมที่จะกลับมาได้ทุกเมื่อ เราจึงขอแนะนำถึงวิธีการลดอาการเพื่อแก้โรคกระเพาะและป้องกันไม่ให้มีอาการต่างๆ ที่จะกลับมารบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันให้ทุกคนได้เริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง ดังนี้
จะเห็นได้ว่าโรคกระเพาะเมื่อเป็นแล้วเราจำเป็นจะต้องดูแลตัวเองในระยะยาว และเป็นโรคที่เข้ามารบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ยาแก้โรคกระเพาะที่สามารถแก้ไขอาการของโรคกระเพาะให้หายขาดและช่วยลดโอกาสในการกลับมาเป็นซ้ำจึงเป็นทางเลือกของการรักษาที่น่าสนใจของผู้คนยุคใหม่ในปัจจุบัน
ไม่ใช่แค่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่จะช่วยลดอาการของโรคกระเพาะ และช่วยรักษาโรคกระเพาะเบื้องต้น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารก็สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะอาหารบางประเภทและวัตถุดิบบางชนิดก็เป็นสิ่งที่จะเข้าไปทำให้อาการมีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังอาจไปกระตุ้นให้อาการที่เคยหายไปแล้วกลับมากำเริบขึ้นได้อีกครั้ง ผู้ที่กำลังหาทางแก้โรคกระเพาะและมองหาวิธีลดอาการทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆ เหล่านี้
อาหารไขมันสูง อาหารทอด
อาหารหมักดอง
อาหารรสจัด
(เผ็ด เปรี้ยว หวาน และเค็ม)
นม และผลิตภัณฑ์จากนม
เนื้อสัตว์แปรรูป
เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม
เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
น้ำอัดลม โซดา
น้ำผลไม้
(โดยเฉพาะที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูง)
ช็อกโกแลต
มะเขือเทศ
ซอสมะเขือเทศ และผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ
พริก พริกไทย
และผลิตภัณฑ์จากพริก
โดยที่จะต้องเลือกทานอาหารที่ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร อาหารที่มีเส้นใยสูง ที่จะช่วยลดการเกิดอาการของโรคกระเพาะ ทั้งยังส่งผลดีต่อระบบย่อยอาหาร ซึ่งตัวอย่างอาหารที่ควรรับประทาน ได้แก่ อาหารที่มีความเป็นกรดต่ำ อาหารไขมันต่ำ ธัญพืชเต็มเมล็ด เครื่องดื่มที่ไม่มีแก๊สหรือคาเฟอีน และอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นต้น
ในปัจจุบันได้มีการรักษาโรคกระเพาะด้วยยาเพื่อรับมือกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยแพทย์จะเลือกใช้ยาที่จะไปช่วยลดอาการต่างๆ ตามรูปแบบและความรุนแรงของโรค ซึ่งยารักษาโรคกระเพาะที่แพทย์นิยมใช้ในการแก้โรคกระเพาะและรับมือกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นนั้น ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ด้วยกัน ดังนี้
เป็นยาแก้โรคกระเพาะที่เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการที่ไม่รุนแรง ถูกใช้เพื่อเข้าไปเคลือบแผลในกระเพาะอาหาร/ลำไส้ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดที่เกิดขึ้นจากความระคายเคืองที่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหาร โดยจะมีให้เลือกใช้ทั้งชนิดเม็ด (เคี้ยวก่อนกลืน) และชนิดน้ำ เช่น อะลั่มมิลค์, อะลูดรอกซ์, มาอะลอกซ์ และเกลูซิล เป็นต้น ซึ่งหากใช้ยาชนิดนี้ติดกัน 2 วันแล้วอาการไม่ดีขึ้นควรหยุดยาและเข้าทำการปรึกษาแพทย์
ผลข้างเคียง : อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องผูก หรือปวดเมื่อยกว่าปกติ
เป็นยาที่จะเข้าไปแก้ไขอาการปวดเกร็งที่เกิดขึ้นจากการที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นมีอาการหดเกร็งจากแผลในกระเพาะอาหารที่เกิดการระคายเคือง ซึ่งจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ
โดยที่สารสังเคราะห์ในกลุ่มที่ 2 จะมีการออกฤทธิ์ที่ดีกว่า นานกว่า และไม่ส่งผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลางจึงแนะนำให้เลือกใช้ยารักษาโรคกระเพาะที่ช่วยแก้ปวดเกร็งในกลุ่มนี้ โดยตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ เช่น ออกซีฟีโนเนียม, ไดซัยโครมีน, ออกซีเฟนซัยคลิมีน, กลัยโคพัยโรเลต และโปรแพนทีลีน
ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้กับผู้สูงอายุและเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ปี รวมถึงผู้ที่มีอาการปัสสาวะลำบาก ลำไส้อุดตัน ท้องอืด (ไม่ผายลม) และผู้ป่วยโรคต้อหิน
เป็นยาแก้โรคกระเพาะที่จะเข้าไปยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร โดยยาชนิดนี้มีชื่อทางการค้าว่า ไซเมทิดีน ซึ่งมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคกระเพาะสูง เนื่องจากตัวยาที่เข้าไปลดการหลั่งกรดจะไปช่วยรักษาแผลและการอักเสบที่เกิดขึ้นในกระเพาะอาหาร ทั้งลดโอกาสไม่ให้เกิดแผลซ้ำอีกด้วย อย่างไรก็ตามยาชนิดนี้ก็ยังมีผลข้างเคียงเล็กน้อย เพราะอาจทำให้ผู้ที่รับประทานมีอาการท้องเสีย มึนหัว ปวดกล้ามเนื้อ และมีผื่นขึ้นบริเวณต่างๆ ของร่างกาย
ข้อควรระวัง : ไม่ควรใช้ยากลุ่มนี้กับผู้หญิงตั้งครรภ์ และหากใช้กับผู้ป่วยโรคไตควรเลือกใช้ยาในปริมาณที่น้อยกว่าบุคคลทั่วไป ทั้งยังไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ในการห้ามไม่ให้เลือดแข็งตัวหรือลดการแข็งตัวของเลือดอีกด้วย
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการรักษาโรคกระเพาะกับทางโรงพยาบาลและมีการใช้ยาแก้โรคกระเพาะหลากหลายประเภทเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น แต่ยาที่ใช้ก็ล้วนเป็นยาที่อาจส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่างๆ ตามมา อีกทั้งการรักษากับโรงพยาบาลก็มักจะเป็นการรักษาในระยะยาวที่อาการก็จะกลับมาเป็นๆ หายๆ ให้เราต้องเสียค่าใช้จ่ายที่บานปลาย รักษายังไงก็ไม่หาย และต้องกลับมาทุกข์ทรมานอยู่บ่อยๆ แต่เรา ทีมงานของ Welliness ก็ยังไม่หมดหวัง!
ตลอด 1 ปีครึ่งที่เราได้ลองรักษากับโรงพยาบาลต่างๆ ตลอดจนทำการหายา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์สุขภาพ และศึกษาวิธีการที่จะช่วยรักษาโรคกระเพาะให้หายขาดแบบไร้ผลข้างเคียง ในที่สุดเราก็ได้พบกับเคล็ดลับดีๆ ที่จะช่วยแก้โรคกระเพาะและรับมือกับอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยที่เราได้ไปค้นพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีชื่อว่า ‘Curma Max’ และ ‘Green Curmin’ ซึ่งมีส่วนผสมเฉพาะที่ได้รับการ Research ข้อมูลมาแล้วมากมาย ทั้งงานวิจัย การทดลอง และได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางมาแล้วว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถบรรเทาอาการและลดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ช่วยฟื้นฟูแผลในกระเพาะอาหารให้ดียิ่งขึ้น และยังช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดีขึ้น และช่วยเร่งการสร้างเมือกที่มาป้องกันกระเพาะอาหารเพื่อไม่ให้อาการกลับมาเกิดซ้ำได้อีกด้วย
นี่ถือเป็นการค้นพบที่เราดีใจเป็นอย่างมาก เพราะเราจะได้นำสิ่งดีๆ เหล่านี้มาแบ่งปันให้กับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกระเพาะทุกคน และเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยคืนชีวิตเก่าที่ไร้ซึ่งอาการเจ็บปวดของโรคกระเพาะ และทำให้ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขในทุกๆ วัน
และทุกคนก็มักจะมีอาการเป็นๆ หายๆ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและสร้างความเจ็บปวดเป็นอย่างมากในแต่ละมื้ออาหาร การรับมือกับโรคนี้นั้นก็จำเป็นแต่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและพฤติกรรมการรับประทานอาหารในระยะยาว ร่วมกับการรักษาโรคกระเพาะกับโรงพยาบาล และเลือกใช้ยารักษาโรคกระเพาะที่แพทย์แนะนำ แต่การรักษาแบบเก่าแบบนี้กลับทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่บานปลาย ทั้งยังใช้เวลานาน และมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เราที่เคยประสบกับปัญหาเหล่านี้จึงได้มาแนะนำเคล็ดลับและผลิตภัณฑ์ดีๆ อย่าง ‘Curma Max’ และ ‘Green Curmin’ เพื่อเป็นหนึ่งทางเลือกในการรักษาโรคกระเพาะที่ได้รับการรับรองมาแล้วว่าสามารถรับมือกับโรคนี้ได้จริง